วันพฤหัสบดีที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

มอเตอร์ไซค์พลังงานแม่เหล็กไฟฟ้า

ผมจำได้ว่าเมื่อตอนช่วงต้นเดือนพฤศจิกายน 2558 ได้มีโอกาสไปร่วมงานประกวดสุดยอดนวัตกรรม สิ่งประดิษฐ์อาชีวศึกษา ซึ่งจัดที่วิทยาลัยการอาชีพศรีสำโรง จ.สุโขทัย มีผลงานประกวดอยู่ชิ้นหนึ่งซึ่งสะดุดตาผมมาก เป็นผลงานของวิทยาลัยการอาชีพศรีสัชนาลัย ซึ่งเป็นการผลิตกระแสไฟฟ้าจากการเหนี่ยวนำของแม่เหล็กไฟฟ้ากับขดลวด ทำให้จานที่ติดแม่เหล็กหมุน และทำการต่อแกนเหล็กจากจานแม่เหล็กไปหมุน Generator ได้กระแสไฟฟ้าออกมา โดยไฟฟ้าที่ได้นำไปต่อวงจรกับอุปกรณ์ไฟฟ้าแสงสว่าง  ซึ่งเรื่องนี้เคยมีของต่างประเทศที่ทำก็คล้ายๆกันแต่ของเขาเป็นการนำไฟฟ้าที่ได้จากการเหนี่ยวนำจากการหมุนแท่งแม่เหล็กรอบขดลวดแล้วได้กระแสไฟฟ้าขึ้นมา นำไฟฟ้านี้มาต่อวงจรกับอุปกรณ์ไฟฟ้า ตามลิงค์
https://youtu.be/SRG934Hy_1Q


ตอนนั้นได้สอบถามทางอาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์ไพลรัตน์ สำลี ทราบว่าจะมีผลงานอีกชิ้นหนึ่งส่งเข้าประกวดในเร็วๆนี้



 





เวลาผ่านไปประมาณ  1 เดือน ก็ปรากฎเป็นข่าวฮือฮาตามหน้าหนังสือพิมพ์เกี่ยวกับรถจักรยานพลังงานแม่เหล็ก มีกระแสตอบรับทั้งเห็นด้วยและไม่เห็นด้วย (ตามลิงค์)
http://pantip.com/topic/34541637
 
เพื่อให้หายสงสัยก็เลยมาคุยกับอาจารย์เองเลยว่ามันเป็นอะไร อย่างไงกันแน่ ทำไมคนเขาสงสัยเหลือเกิน? 
ให้ทางจนท.นัดกับอาจารย์ว่าวันที่ 10 กพ 59 จะไปเยี่ยมชมหน่อย

พอวันที่10กพ ก็พาทีมงานไปเยี่ยมอาจารย์ที่วช.ศรีสัชนาลัย  พอไปถึงก็รู้สึกประหลาดใจเล็กน้อยว่า โอ้โฮเขาต้อนรับเราใหญ่โตขนาดนี้เลยเหรอ  ที่ไหนได้วันนี้ทางบริษัทฮอนด้าเขามามอบอุปกรณ์เกี่ยวกับความปลอดภัยทางถนนให้วิทยาลัย
 
จากการสอบถามอาจารย์ไพลรัตน์ สำลี concept ที่อาจารย์คิดขึ้นมานี้เป็นการต่อยอดจากผลงานประดิษฐ์การผลิตไฟฟ้าที่ได้จากการเหนี่ยวนำแม่เหล็กกับขดลวด มาประยุกต์ใช้กับรถมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้า ซึ่งแทนที่รถไฟฟ้าจะใช้ไฟฟ้าทั่วไปในการชาร์ทไฟ ก็เปลี่ยนมาเป็นใช้ไฟฟ้าที่ผลิตได้จากการเหนี่ยวนำของแม่เหล็กและขดลวด ทำให้แผ่นจานที่ติดแผ่นแม่เหล็กหมุน และทำการต่อแกนของไปยังเจนเนอเรเตอร์เพื่อผลิตไฟฟ้า (48 V)  แล้วนำไฟฟ้าที่ได้ไปชาร์ทในแบตเตอรี จากนั้นจึงต่อวงจรไฟฟ้าจากแบตเตอรีไปยังมอเตอร์ของมอเตอร์ไซค์อีกที
 
  
 
ลำพังการเหนี่ยวนำแม่เหล็กกับขดลวด ถ้ามีกลไกแค่นี้มันคงจะหมุนไปได้ไม่นานก็คงจะหยุด เนื่องจากLoss ต่างๆ แต่อาจารย์ไพลรัตน์มีเทคนิคในการควบคุมให้จานแม่เหล็กหมุนได้ต่อเนื่อง โดยการเพิ่มแบตเตอรีขนาด 3.7 โวลท์  2 ก้อนในระบบชาร์ทและควบคุมตัวมอเตอร์สตาร์ทที่จานแม่เหล็ก  ซึ่งในการทำงานแบตเตอรี 3.7 โวลท์ นี้จะทำงานทีละก้อน เมื่อก้อนหนึ่งไฟหมดระบบก็จะสวิทช์ให้อีกก้อนทำงานทันที และแบตเตอรีที่ไฟหมดก็จะถูกทำการชาร์ทไฟจากไฟฟ้าที่ได้จากการเหนี่ยวนำระหว่างการหมุนของจานแม่เหล็กกับขดลวด (วงจรที่ 1)
 
 
วงจรที่ 1
 
 
 สำหรับวงจรที่ 2 เป็นการผลิตไฟฟ้าจาก การที่ต่อแกนของจานแม่เหล็กไปยัง Generator เมื่อจานแม่เหล็กหมุนก็จะทำให้ Genertor ผลิตกระแสไฟฟ้าออกมา  แล้วนำกระแสไฟฟ้าที่ได้มาชาร์ทกับแบตเตอรีที่จะนำไปขับเคลื่อนมอเตอร์ของรถไฟฟ้านั่นเอง จะเห็นว่าตราบใดที่แแผ่นจานแม่เหล็กหมุนได้ ก็ผลิตกระแสไฟฟ้าได้ 
 
วงจรที่2
 
 

 
 
 ก็ถือว่าต้องให้กำลังใจกันครับสำหรับฝีมือคนไทยที่ช่างคิดช่างประดิษฐ์ เราคงไม่เป็นชาวนาโต้ (NATO - No Action Talk Only) นะครับ อาจารย์เองก็บอกว่าเป็นงานวิจัยที่เพิ่งเริ่มทำ ยังไม่สมบูรณ์ 100 % ครับ....ปัจจุบันใช้ขับขี่ในวิทยาลัยทุกวันความเร็วประมาณ 30 - 40 กม/ชม ไม่ต้องใช้ไฟฟ้าของการไฟฟ้ามาชาร์ทเลย 


สุดท้ายนี้ขอให้กำลังใจอาจารย์ด้วยเพลงผู้ชนะ ของเสก โลโซ ก็แล้วกันคร๊าาาบบบ....




 
 
Jiatruka  Peeyadun